ต้องรับมืออย่างไร? เมื่อไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)

รู้ก่อนซื้อ ต้องรับมืออย่างไร? เมื่อไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
Aging Society คำนี้อาจจะไม่คุ้นหูคนไทยสักเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง "สังคมผู้สูงอายุ" ล่ะก็ เชื่อว่าหลายต้องร้อง อ๋อ เป็นเรื่องเดียวกันแน่ๆ เพราะหากใครที่ติดตามข่าวสารต่างประเทศอยู่เป็นประจำ คงจะทราบดีว่ามีหลายประเทศในโลกที่กำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้ว และเชื่อหรือไม่ว่า...ในอีกไม่นาน สังคมไทยก็กำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน

ถึงจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่จากข้อมูลของ องค์การสหประชาชาติ (UN) ในปี พ.ศ.2564 ทีผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีประชากรที่อายุ 65 ปีขึ้นไปอยู่ประมาณ 9 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 12.8% จากประชากรทั้งหมด ในขณะที่นิยามของสังคมผู้สูงอายุนั้น หมายถึง จำนวนประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ

นั่นทำให้ประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรสูงอายุต่อประชากรทั้งหมดมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน จะเป็นรองก็เพียงสิงคโปร์เท่านั้น และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2565 ไทยอาจมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น14% ของประชากรทั้งหมด

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าทำไมไทยถึงกำลังเดินเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุได้ คำตอบที่ดูจะชัดเจนและเป็นเหตุเป็นผลที่สุด นั่นคืออัตราการเกิดของคนไทยนั้นมีแนวโน้มลดต่ำลงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการที่คนแต่งงานกันช้าลง และความต้องการมีบุตรของแต่ละครอบครัวนั้นลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่านิยมในสมัยก่อน

ด้วยปัจจัยเหล่านี้เอง ทำให้มีการคาดการณ์เพิ่มเติมว่า ประเทศไทยน่าจะขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสูงสุด (Hyper Aged Society) หรือมีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดในเวลาเพียง 9 ปี ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่รวดเร็วกว่าประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ระยะเวลา 11 ปี
รู้ก่อนซื้อ ต้องรับมืออย่างไร? เมื่อไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) 2

หากรู้ตัวว่ากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบนี้ แล้วเราจะเตรียมตัวรับมืออย่างไรได้บ้าง
 
1) การขยายอายุเกษียณ เพื่อเพิ่มจำนวนคนวัยทำงาน ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสิงคโปร์ได้เพิ่มอายุเกษียณจาก 65 เป็น 67 ปี และเกาหลีใต้จะขยายอายุเกษียณจาก 55 เป็น 60 ปี ส่วนจะให้ผู้สูงอายุทำงานได้จนถึงอายุ 65 ปี จากเดิมที่ 62 ปี ส่วนของไทยอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ขยายอายุเกษียณของแรงงานในสถานประกอบการจาก 55 เป็น 60 ปี

2) สนับสนุนให้บริษัทจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการช่วยสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัทที่จ้างผู้สูงอายุให้ทำงานต่อ (Special Employment Credit) โดยมีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund) เท่านั้น

3) เพิ่มทักษะและการจัดหางานให้เหมาะสมกับแรงงาน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการหารายได้ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานในระยะยาว ซึ่งทำได้ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบตลอดช่วงอายุ
 
4) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดสรรรายได้และรายจ่ายอย่างสมดุล โดยเฉพาะรายได้หลังวัยเกษียณ ผ่านการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้สูงอายุ
 
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

และนอกจากการเตรียมรับมือของภาครัฐและเอกชนแล้ว ตัวเราเองก็สามารถเตรียมตัวรับมือได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะด้วยการเก็บออมเงิน หรือลงทุนให้มี Passive Income เป็นรายได้ระยะยาว รวมถึงการทำ ประกันสุขภาพเพื่อรองรับกับอาการเจ็บป่วยสำหรับผู้สูงอายุในอนาคต โดย ประกันสุขภาพของอลิอันซ์ อยุธยา สามารถต่ออายุได้ตลอดชีวิต* พร้อมแผนประกันที่หลากหลาย จึงวางใจได้ว่าบั้นปลายชีวิตของคุณจะได้รับความคุ้มครองและมั่นคงแน่นอน โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555
 
 
*ผู้ได้รับความคุ้มครองจะได้รับสิทธิในการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยไปตลอดชีวิต ภายใต้เงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันภัยต่อเนื่องทุกปี สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีความคุ้มครองก่อนอายุ 60 ปี
 
ข้อมูลจาก
https://www.dop.go.th/th/know/15/926
https://themomentum.co/happy-life-aging-society/
https://brandinside.asia/aging-society-challege-for-thailand/

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.