ทำไมยุงลายหน้าฝน เป็นภัยร้ายต้องระวังเป็นพิเศษ

รู้ก่อนซื้อ ทำไมยุงลายหน้าฝน เป็นภัยร้ายต้องระวังเป็นพิเศษ
เข้าสู่หน้าฝน อากาศเริ่มเย็นลง ทำให้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงในหลายพื้นที่ เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อีกทั้งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย มาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝนนี้
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง สถานการณ์โรคในปีพ.ศ. 2566 จะพบในกลุ่มอายุ 5-14 ปีมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี และ 0-4 ปี
มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือดและมีจุดแดงที่ผิวหนัง ซึ่งแม้อาการในเบื้องต้นเหมือนจะไม่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในอวัยวะภายใน การไหลเวียนของเลือดล้มเหลวได้
ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ มีข้อควรระมัดระวัง คือ หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและลดไข้กลุ่ม NSAIDS เนื่องจากรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดและเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรค สถานการณ์โรคในปีพ.ศ. 2566 จะพบในกลุ่มอายุ 35-44 ปีมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 45-54 ปี และ 55-64 ปี

อาการของโรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

มีไข้ ผื่นแดงตามตัว ปวดข้อ ข้อบวมแดง ตาแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะหายภายใน 7 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังได้ สำหรับเด็กมักมีอาการทางระบบประสาทและผิวหนังได้บ่อย และถึงแม้จะมีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออกแต่แตกต่างกันที่โรคชิคุนกุนยาไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนมีอาการช็อกและมักไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต ขณะเดียวกันในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือมีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น
การรักษาและข้อควรระวัง โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา มียุงลายเป็นพาหะนำโรคซึ่งเป็นไวรัสจำพวกเดียวกับไวรัสเดงกี่ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเวสต์ไนล์ ไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี สามารถติดต่อและแพร่เชื้อได้หลายทางทั้งจากการโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ การถ่ายเลือด หญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ สถานการณ์โรคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2566 พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 50 ราย
รู้ก่อนซื้อ อาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและจะเห็นอาการได้ชัดเจนช่วง 2-5 วันแรก อาการที่พบบ่อยจะมีไข้ต่ำๆ มีผื่นแดงตามตัวและแขนขา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง ทั้งนี้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้ออาจทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในเด็กแรกเกิด ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าและตัวเล็กหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
เนื่องจากเป็นไวรัสจำพวกเดียวกับโรคไข้เลือดออกจึงยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ มีข้อควรระมัดระวังการใช้ยาบางชนิดที่อันตรายสำหรับโรคนี้ คือ ยาแก้ปวดและลดไข้กลุ่ม NSAIDS เนื่องจากรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดและเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย
และถึงแม้โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะทั้ง 3 โรคนี้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาเฉพาะ  การหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มียุงเยอะ ทายากันยุง สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดมิดชิดเพื่อให้ถูกยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านเพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่ก็จะช่วยป้องกันให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคไวรัสซิกาได้ ทั้งนี้หากมีอาการป่วยและมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

เพิ่มความสบายใจเผื่อเจ็บป่วยในอนาคต ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลสูง ด้วยประกันสุขภาพจากอลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย ป่วยมากป่วยน้อยก็ให้ความคุ้มครองพร้อมดูแลเคียงข้างทุกเวลา ไม่ต้องซื้อประกันชีวิตควบคู่ด้วย ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม แผนประกันสุขภาพ
หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555

ที่มา : https://bit.ly/3KLeHUL
https://bit.ly/3YFjQ6H
https://bit.ly/3YFHpfr

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.