อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตคนรุ่นใหม่

รู้ก่อนซื้อ อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตคนรุ่นใหม่
อีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่หลายคนอาจไม่ทันระวังตัว และมักไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นขึ้นมาเมื่อไหร่ รับรองว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว นั่นคือ โรคอาหารเป็นพิษ ยิ่งในช่วงที่มีการเดินทางไปต่างที่ต่างถิ่น โอกาสที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับท้องไส้ที่ว่านี้ ก็ยิ่งสูงมากขึ้นตามไปด้วย
 
ว่าแต่โรคอาหารเป็นพิษที่พูดถึงกันอยู่นี้เป็นอาการแบบไหน และเราจะป้องกันตัวเองอย่างไรได้บ้าง วันนี้อลิอันซ์ อยุธยา จะชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคที่ว่านี้กัน
รู้ก่อนซื้อ โรคอาหารเป็นพิษ
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้อธิบายอาการป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ รวมไปถึง อาหารที่ปรุงไม่สุกพอ อาหารค้างคืน และไม่ได้เก็บรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เราเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้
 
สำหรับอาการส่วนใหญ่ที่เกิดจากอาหารเป็นพิษได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ทำให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ หรือรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตก็ได้
สำหรับวิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ได้มีการให้คำแนะนำไว้ดังนี้
 
1. เลือกอาหารที่ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
3. ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
4. ระมัดระวังอาหารอย่าให้มีการปนเปื้อน
5. อาหารที่ค้างมื้อต้องอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน
6. ควรแยกอาหารดิบและอาหารสุก
7. ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร
8. ให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดของพื้นที่การปรุงอาหาร
9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร
รู้ก่อนซื้อ วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ
แม้จะมีคำแนะนำดีๆ แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะสามารถเลือกรับประทานอาหารให้ตรงตามที่เราต้องการได้ และมีโอกาสที่เราอาจพลาดจนป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้ และหากเราป่วยด้วยโรคนี้ขึ้นมา สิ่งที่ควรทำคือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตัวเอง ด้วยการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น หากผู้ป่วยยังพอรับประทานอาหารได้ ควรดื่มน้ำเปล่า และจิบน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย อาทิ
 
1. โจ๊ก ข้าวต้ม: เป็นอาหารที่ช่วยระบบย่อยให้ทำงานน้อยลง แต่ได้พลังงานดี ทำให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย

2. ซุป: มีประโยชน์ใกล้เคียงกับการรับประทานโจ๊กและข้าวต้ม แต่ต้องระวังเรื่องการปรุงที่ไม่จัดเกินไป และอาจต้องเลี่ยงซุปที่มีความข้น

3. กล้วยน้ำว้า: เป็นอาหารที่ย่อยง่าย รับประทานอยู่ท้อง อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและเเทนนิน ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้

4. แกงจืดเต้าหู้: เป็นอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่อาการเริ่มบรรเทาแล้ว เพราะกากใยที่ดีต่อระบบขับถ่าย แต่หากเพิ่งท้องเสียใหม่ๆ ควรเลี่ยง

5. มันฝรั่งปอกเปลือก: อุดมด้วยโพแทสเซียมเช่นเดียวกับกล้วย จึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาความรุนแรงของอาการท้องเสียได้
 
แต่หากพบว่ามีอาการหนัก เช่น อาเจียนไม่หยุด ถ่ายบ่อยและถี่ และถ่ายเป็นน้ำ รวมทั้งมีไข้ปวดเนื้อปวดตัว ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล

สำหรับกรณีที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด การป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษนั้นถือเป็นข่าวร้ายที่อาจทำให้หมดสนุกได้ และเพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันตัวเอง กรมควบคุมโรค จึงได้มีการเตือนถึงเมนูอาหารที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าร้อนเอาไว้ เพื่อป้องกันอาการของโรคอาหารเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
 
1.. ลาบ/ก้อยดิบ         
2. ยำกุ้งเต้น
3. ยำหอยแครง/ยำทะเล
4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู
5. อาหาร หรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด
6. ข้าวมันไก่
7. ส้มตำ
8. น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน
รู้ก่อนซื้อ เมนูอาหารที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าร้อน
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือการยึดหลัก ‘กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ’ เพื่อป้องกันโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาได้

นอกจากโรคอาหารเป็นพิเศษ ในฤดูนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่ต้องระวัง เช่น อาการท้องร่วง โรคเครียด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งไม่ว่าจะโรคไหนก็มีโอกาสป่วยได้สูง และคงไม่ดีแน่หากต้องไปโรงพยาบาลช่วงนี้ หรือต้องเสียค่ารักษาราคาสูงในระหว่างที่อยู่ต่างที่ต่างถิ่น
 
เพื่อลดความเสี่ยง ความกังวล และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยดูแลคุณอุ่นใจมากขึ้นในฤดูกาลแบบนี้อลิอันซ์ อยุธยา พร้อมมอบความคุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555

ข้อมูลจาก
https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/food-poisoning.html
https://www.thaihealth.or.th/Content/45880-อาหารเป็นพิษ%20โรคฮิตนักเดินทาง.html

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.