คุณรู้จัก 'น้ำตาล' ดีพอหรือยัง!

รู้ก่อนซื้อ คุณรู้จัก 'น้ำตาล' ดีพอหรือยัง!

การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำที่มีผลต่อสุขภาพได้ เราไม่จำเป็นต้องเลิกรับประทานอาหารที่ชอบไปอย่างเด็ดขาด แต่ควรค่อยๆจำกัดปริมาณน้ำตาลในอาหารลง

เคล็ดลับ

  • อ่านฉลากอาหาร
  • นำน้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อย ออกไปจากโต๊ะอาหาร
  • ลดปริมาณน้ำตาลลงครึ่งหนึ่งจากสูตรอาหารที่ปรุง
  • เลือกซื้อเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาลหรือให้พลังงานต่ำ
  • เลือกซื้อผลไม้สด หรือผลไม้กระป๋องในน้ำหรือในน้ำผลไม้แทนผลไม้กระป๋องในน้ำเชื่อม
  • ใส่ผลไม้สดหรือผลไม้อบแห้งในธัญพืชเพิ่มเพื่อความหวาน  แทนการรับประทานธัญพืชแบบหวาน
  • ใช้สารสกัดหรือเครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ


น้ำตาลอาจมาในรูปแบบน้ำตาลแฝง
ในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะมีการเติมน้ำตาลที่เรียกว่า ฟรีชูการ์ ลงไปด้วย

อาหารอบย่าง, เครื่องดื่มชูกำลัง, โซดา, ขนมปัง, โยเกิร์ตปรุงแต่งรส, น้ำสลัด และ ซอสมะเขือเทศ เป็นตัวอย่างของการใส่น้ำตาลเข้าไปในกระบวนการผลิตทั้งสิ้น และยังพบว่า อาหารที่มีการลดปริมาณเกลือหรือไขมัน มักจะทำให้มีน้ำตาลเพิ่มขึ้น ทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง

รู้ก่อนซื้อ น้ำตาลอาจมาในรูปแบบน้ำตาลแฝง

อ่านฉลากอาหาร

  • อ่านรายการส่วนผสมทุกรายการ
  • น้ำตาลธรรมชาติและน้ำตาลที่เติมเข้าไป รวมเป็นปริมาณของนำ้ตาลทั้งหมดที่ระบุบนฉลาก
  • น้ำตาลจะระบุไว้เป็นกรัม ซึ่ง 4 กรัมเท่ากับ 1 ช้อนชา

พึงระลึกไว้เสมอว่า น้ำตาลที่เติมเข้าไปในกระบวนการผลิตอาหารอาจจะปรากฏในชื่ออื่น เช่น น้ำตาลฟรุกโตสชนิดพิเศษ มอลโตส กากน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือ น้ำผลไม้เข้มข้น เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่ควรทราบในการบริโภคน้ำตาล

  • ผู้ใหญ่ : ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 30 กรัม ( 7 ก้อน)
  • เด็กอายุ 4-6 ปี : ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 19 กรัม ( 5 ก้อน)
  • เด็กอายุ 7-10 ปี : ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 24 กรัม ( 6 ก้อน)

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.