จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ 2564 ที่รายงานโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 139,206 คนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี ซึ่งโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่
1) มะเร็งตับและท่อน้ำดี
2) มะเร็งเต้านม
3) มะเร็งปอด
4) มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
5) มะเร็งปากมดลูก
สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งที่กล่าวมาใน 5 อันดับนั้น กรมควบคุมโรค วินิจฉัยว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ทำให้เกิดความเสี่ยงตามมา เช่น การสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง รวมไปถึงการประกอบอาชีพ หรืออยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็ง
โดยส่วนใหญ่แล้ว การเกิดมะเร็งนั้นมักมีอาการผิดปกติแบบเรื้อรังเกิดขึ้นกับร่างกาย อาทิ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เป็นแผลเรื้อรังหายยาก ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลืนกินอาหารลำบาก ช่องทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ลักษณะของไฝหูดเปลี่ยนไป มีอาการไอและเสียงแหบเรื้อรัง
ได้ยินอย่างนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงเป็นกังวลอย่างแน่นอน ว่าถ้าเกิดโรคร้ายนี้มาเยือนคนใกล้ตัวจริงๆ นอกจากการรักษาตัวกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราจะมีวิธีใดอีกบ้างในการรับมือกับปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดฝันนี้
วันนี้อลิอันซ์ อยุธยา มีคำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้น ด้วยวิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้น หากมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น เพื่อเพิ่มกำลังใจให้กับเราและผู้ป่วย