Work-Life ทำยังไงให้ Balance ฉบับคนบ้างาน

รู้ก่อนซื้อ Work-Life ทำยังไงให้ Balance ฉบับคนบ้างาน
เชื่อว่าวัยทำงานหลายคนกำลังประสบปัญหากับ “อาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน” เนื่องจากให้ความสำคัญกับเรื่องงานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งเอางานมาทำในวันหยุดหรือต้องเคลียร์งานดึกดื่นทุกวัน ซึ่งหากยังมีกิจวัตรประจำวันแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้วไม่รีบแก้ไข อาจส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม สภาพร่างกายย่ำแย่ แล้วเกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา ดังนั้นมาดูกันว่าพฤติกรรมแบบไหน เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนบ้างานมากเกินไป

1. แยกเวลาส่วนตัวกับเวลางานไม่ได้ ให้ความสำคัญกับเรื่องงานมาเป็นอันดับ 1 งานคือทุกสิ่งของชีวิต โดยไม่สนเวลาพักผ่อน ไม่สนใจเรื่องสำคัญเรื่องอื่นๆ ในชีวิต

2. ต้องอดหลับอดนอนทำงานให้เสร็จ แม้ยังไม่ถึงกำหนดส่งงาน

3. ความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแย่ลง เพราะทำงานหนักมากเกินไป

4. เมื่องานไม่เป็นไปตามที่คาดหวังจะรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มีคุณค่า

5. เมื่อไม่มีงานหรืองานเสร็จแล้ว จะรู้สึกกระวนกระวาย รู้สึกผิด อยากจะทำงาน

6. ยังคงอยากทำงานตลอดเวลา ทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกด้านลบที่ไม่ได้ทำงาน

7. สภาพร่างกายและจิตใจรู้สึกเหนื่อยล้า  ทานอาหารไม่เป็นเวลา รีบทานมากเกินไป เลือกทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพื่อความรวดเร็วและประหยัดเวลา

ผลข้างเคียงจากการทุ่มเทให้กับงานมากเกินขอบเขต นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ยังนำมาซึ่งปัญหาเหล่านี้ตามมาอีกด้วย
เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด กดดันและคาดหวังในตัวเองสูง เมื่อไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็เกิดความวิตกกังวลและมีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว
มีปัญหาการนอนไม่หลับ นอนไม่พอ นอนหลับไม่สนิท นอนไม่เป็นเวลา
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่จะมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนหัว ยิ่งถ้าทำงานหนักโดยไม่ยอมพักผ่อนอาจมีอาการปวดหัวเหมือนไมเกรน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ไปจนถึงเสียชีวิตได้
ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดการกับความเครียดไม่ได้จนกลายเป็นเรื้อรัง กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งกระทบกับระบบหัวใจและหลอดเลือด

แนวทางการปรับ Work-Life ให้ Balance รับมือยังไงให้สุขภาพกายใจดี มีความสุข

  • จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานที่ต้องทำ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ
  • แบ่งเวลาใช้ชีวิต และเวลาทำงานให้เหมาะสม จำกัดขอบเขตการทำงานให้เป็นระบบ กำหนดเวลาเริ่มงานเลิกงานให้ชัดเจน ไม่เบียดเบียนเวลาส่วนตัว
  • เรียนรู้ที่จะปฏิเสธและต่อรองการขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน เพื่อภาระงานที่ไม่หนักจนเกินไป
  • ใช้เวลากับคนรอบตัวให้มากขึ้น เพื่อกระชับความสัมพันธ์และช่วยบรรเทาความเครียดได้
  • หาเวลาออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความเครียดบ้าง หรือลองทำกิจกรรมอะไรใหม่ๆ อาจได้แรงบันดาลใจดีๆ ทำให้สามารถรับมือกับการทำงานได้ดีขึ้น

ทั้งนี้อย่าลืมกำหนดเป้าหมายชีวิต เพื่อวางแผนการทำงานและรักษาสมดุลในการใช้ชีวิตไปพร้อมกัน แล้วลองถามตัวเองกันดูว่าเราจัดสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้มากน้อยแค่ไหน หากลองปรับตามแนวทางข้างต้นแล้ว ยังรู้สึกว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง อาจหาเวลาไปพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ เพื่อช่วยวางแผนการรับมือที่เหมาะสม

และคงจะไม่ดีแน่ถ้าเงินที่หามาจากการทำงานอย่างหนัก ต้องนำมาใช้เป็นค่ารักษาในอนาคต ดังนั้นมี ประกันสุขภาพไว้อุ่นใจกว่า หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล แผนประกันให้ความคุ้มครองสูงและครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์หลายแผน
 

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555
 
*เงื่อนไขการรับประกันภัยเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด และลูกค้าควรศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเงี่อนไขความคุ้มครอง ข้อกำหนด และข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ก่อนการทำประกันภัย
 
ที่มา : https://bit.ly/3nBma0i
https://bit.ly/3B4Tksg
https://bit.ly/3HNH43r
https://bit.ly/3NLU5Os
https://bit.ly/3HN1328

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.