การดูแลเด็กแรกเกิดอาจพบกับความกังวลใจมากมายจนทำให้คุณแม่มือใหม่รับมือไม่ทัน กลายเป็น “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วช่วงหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้ส่งผลให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า รู้สึกไม่ดี มีอาการหดหู่โดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ว่าจะคุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่ที่เคยมีลูกมาแล้ว ก็สามารถเผชิญกับภาวะนี้ได้เช่นกัน
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้
![รู้ก่อนซื้อ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้](/th_TH/did-you-know/postpartum-depression/_jcr_content/root/parsys/wrapper/wrapper/image.img.82.3360.jpeg/1725805060212/postpartum-depression-1.jpeg)
การดูแลเด็กแรกเกิดอาจพบกับความกังวลใจมากมายจนทำให้คุณแม่มือใหม่รับมือไม่ทัน กลายเป็น “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วช่วงหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้ส่งผลให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า รู้สึกไม่ดี มีอาการหดหู่โดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ว่าจะคุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่ที่เคยมีลูกมาแล้ว ก็สามารถเผชิญกับภาวะนี้ได้เช่นกัน
![รู้ก่อนซื้อ อาการแบบไหน เรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด”](/th_TH/did-you-know/postpartum-depression/_jcr_content/root/parsys/wrapper/wrapper/image_1334748007.img.82.3360.jpeg/1725805077182/postpartum-depression-2.jpeg)
- กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและลูกได้
- ร้องไห้โดยไม่ทราบเหตุผล
- ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก
- รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก
- อารมณ์แปรปรวน รู้สึกเศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง
- ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเกือบทั้งวัน หรือติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- มีความรู้สึกเหนื่อยหน่าย หมดความสนใจในงานหรือกิจกรรมที่ทำ
- อาการอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไม่ได้
การรับมือกับ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด”
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หาเวลาพักระหว่างวัน
- แบ่งเวลาให้คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก
- มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง เพื่อเข้าใจสิ่งที่ตัวเองเข้าใจมากขึ้น
- ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง
- ลดการรับข่าวสารที่ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การป้องกัน
- หากผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ควรแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ทราบทันที
- ระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะเฝ้าระวังดูอาการของโรคซึมเศร้า โดยอาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามคัดกรอง ภาวะซึมเศร้า หรือแนะนำให้เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือหรือได้รับบำบัด
- หลังคลอด แพทย์อาจแนะนำให้ทำการคัดกรองเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือไม่ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านความเศร้าหรือรับการบำบัดทางจิตหลังคลอด
การรักษา
การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า หากผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า ควรแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ทราบทันที ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ดังนี้
1. การทำจิตบำบัด
เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย
2. การใช้ยาต้านซึมเศร้า
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ก็มียาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงกับทารกได้น้อย โดยผู้ป่วยและแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการรักษาด้วยยาต้านเศร้าแต่ละชนิด
อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจ เพราะหากมีอาการผิดปกติที่มากไปหรือระยะเวลานานเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อการรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด ทั้งนี้การวางแผนค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพก็เป็นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรละเลย หากเจ็บป่วยขึ้นมา เราก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมากแค่ไหน การทำประกันสุขภาพไว้ก็เป็นสิ่งจำเป็น ประกันสุขภาพจากอลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย ให้ความคุ้มครองสูง
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555
ที่มา :
https://bit.ly/3WKYqDB
https://bit.ly/3Ee1AbN
https://bbc.in/3Ec7yKi