ภาวะโรคเครียดในเด็ก สัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ต้องรู้

เชื่อว่าผู้ใหญ่หลายคนอาจมีความคิดที่ว่า เป็นเด็กเป็นเล็กจะมีเรื่องอะไรให้เครียด แค่กินๆ นอนๆ เรียนๆ เล่นๆ ก็หมดวันแล้ว

นั่นก็อาจไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ภาวะความเครียดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ ก็สามารถเกิดภาวะเครียดขึ้นได้เช่นกัน

สังเกตได้อย่างไรว่าเด็กกำลังมีภาวะเครียด?

เพราะเด็กก็เครียดได้ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือการแสดงออกที่ต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากวุฒิภาวะและการจัดการตัวเองที่ทำได้ไม่ดีเท่า ทำให้เด็กที่เกิดความเครียดมักจะแสดงออกมามากเท่าที่เขาจะรู้สึกได้ จนอาจถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ภาวะความเครียดในเด็กจะปะทุจนนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้นั้น มักจะมีสัญญาณทางอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเด็กก่อน และเป็นสิ่งที่พ่อแม่หรือคนใกล้ตัวต้องจับอาการเหล่านั้นให้ได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเด็กๆ อาจแสดงอาการล่วงหน้าได้ดังนี้

1. แสดงความวิตกกังวลออกมาแม้ในสถานการณ์ปกติ
2. ไม่สามารถคลายเครียดได้ แม้จะอยู่ในบรรยากาศที่สนุกสนาน
3. เกิดภาวะความกลัวที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ เช่น กลัวความมืด กลัวคนแปลกหน้า กลัวการอยู่คนเดียว
4. แสดงอาการติดพ่อ ติดแม่มากกว่าปกติ
5. มักจะแสดงความโกรธที่ควบคุมไม่ได้ หรือร้องไห้หนักและถี่มากเมื่อมีสิ่งเร้า
6. ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือทางโรงเรียนได้

ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณบางส่วนที่ช่วยให้พ่อแม่สามารถรับรู้ความผิดปกติของลูกน้อยได้ และบางครั้งก็สามารถนำมาปรับใช้กับคนใกล้คนที่อยู่ในวัยอื่นหรือกระทั่งตัวเองก็ได้เช่นกัน หรือหากใครไม่แน่ใจว่าจะมีวิธีอื่นอีกหรือไม่นั้น เราลองมารู้เท่าทันความเครียดของตัวเองกันสักนิด
จะทำอย่างไร เพื่อช่วยให้เด็กหรือลูกของคุณหลุดจากภาวะเครียด

1. เสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารอย่างพร้อมหน้า ดูหนังด้วยกันทั้งครอบครัว เพื่อให้ลูกได้มีเวลาอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น และกล้าที่จะเปิดใจเล่าปัญหาต่างๆ กับพ่อแม่เพื่อช่วยบรรเทาและช่วยป้องกันความเครียด

2. ฝึกการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กๆ มักเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่ผู้ปกครองสามารถจัดการกับความเครียด และระมัดระวังการแสดงบางอย่าง เช่น การตะคอก ขว้างการปาข้าวของ หรือการทำร้ายร่างกายกัน นอกจากจะเลี่ยงการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบแล้ว ยังช่วยลดความเครียดให้กับเด็กได้อีกด้วย

3. รับฟังปัญหาของลูกด้วยความเข้าใจ จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกสบายใจมากขึ้น และเมื่อพ่อแม่รับรู้ปัญหา ก็จะสามารถแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาให้ลูกได้ถูกจุดมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาภาวะเครียดของเด็กแต่ละคนก็มีความรุนแรงของอาการไม่เท่ากัน และในบางครั้งอาจต้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์เฉพาะทาง เช่นอาการดังต่อไปนี้
 
1. เริ่มมีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม หรือแสดงอาการของภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย
2. เริ่มมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียน หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวแย่ลง
3. ไม่สามารถควบคุมความโกรธของตนเองได้ และปลดปล่อยออกมาโดยไม่มีใครห้ามได้
 
นอกจาก การตรวจเช็คสุขภาพจิตแล้ว การตรวจสอบความพร้อมของสุขภาพร่างกายก็เป็นเรื่องสำคัญทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และแม้จะฟังดูเป็นเรื่องซับซ้อน และก็มีวิธีที่ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบร่างกายของตัวเองได้ง่ายๆ จากที่บ้านเช่นกัน
 
สุดท้ายนี้ นอกจากการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของบุตรหลานอย่างใกล้ชิดแล้ว การทำประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ก็เป็นตัวเลือกในการคุ้มครองและดูแลพวกเขาได้อีกทาง หากคุณกำลังมองหาประกันสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ อลิอันซ์ อยุธยา มีแผนประกันสุขภาพที่เหมาะกับทุกวัย เริ่มต้นคุ้มครองได้ตั้งแต่ 15 วัน

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ หรือโทร 022328555
 
ข้อมูลจาก
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30157
https://www.pobpad.com/โรคซึมเศร้าในเด็ก-กับสัญญาณสำคัญที่ผู้ใหญ่ควรตระหนัก
https:/www.vichaiyut.com/th/health/informations/พ่อแม่เข้ม-เด็กเครียด

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.