เหตุใดการจัดการกับโควิด-19 ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพ นอกจากเรื่องการติดเชื้อ?

รู้ก่อนซื้อ เหตุใดการจัดการกับโควิด-19 ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพ
นับตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่รายแรกในประเทศจีน ย้อนกลับไปเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก็มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นมากมายตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา

4 เดือนถัดมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม องค์การอนามัยโลกประกาศการแพร่ระบาดทั่วโลกเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาก็ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศในอีก 2 วันถัดมา

จนถึงวันที่ 19 สิงหาคมนี้ องค์การอนามัยโลกมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกกว่า 22 ล้านคน และเป็นที่น่าเสียใจอย่างมากที่มียอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อดังกล่าวมากกว่า 781,000 คน

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานปรากฏออกมามากมายเกี่ยวกับผลกระทบทางอ้อมอันยิ่งใหญ่ของโรคระบาดดังกล่าวที่มีต่อพฤติกรรมและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ

ผลกระทบทางอ้อมนี้ต่างจากผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสโดยตรง หากแต่มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับผลกระทบจากการระบาดซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาวด้วย

ผลจากการวิเคราะห์การอุบัติของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในปี 2557 มีความน่าสนใจซึ่งชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบทางอ้อมจากการระบาดมีความรุนแรงมากกว่าผลกระทบจากการระบาดโดยตรงเสียอีก

ผมขอยกตัวอย่าง 2 เรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบทางอ้อมจากโรคระบาดที่มีต่อสุขภาพ ได้แก่ เรื่องการลดจำนวนเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินลง และเรื่องการชะลอการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง อันเนื่องมาจากการระบาดดังกล่าว

ระบบสาธารณสุขทั่วโลกต่างขานรับเบื้องต้นด้วยการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้สถานบริการด้านสุขภาพจำนวนมากไปเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 และขอความร่วมมือประชาชนให้ไปใช้บริการเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

จากการวิจัยพบว่า ประชาชนปฏิบัติตามคำขอ โดยมีบางคนที่ต้องทนทรมานกับอาการป่วยที่อาจมีอันตรายสูงถึงชีวิต

ในเดือนมิถุนายน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริการายงานว่า ช่วง 10 สัปดาห์หลังการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจวายลดลงถึง 23% และจากโรคหลอดเลือดสมองลดลง 20% เมื่อเทียบกับช่วง 10 สัปดาห์ก่อนหน้านี้

หลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มเช่นเดียวกันนี้ โดยจะนำมาซึ่งผลเสียหลายด้านอย่างไม่ต้องสงสัย

หลายประเทศ ระงับการตรวจคัดกรองมะเร็ง และเลื่อนการตรวจรักษาตามปกติออกไป เนื่องจากการระบาดดังกล่าว

นอกจากนี้ ประชาชนยังมีความรู้สึกหวาดกลัวการออกจากบ้านเพื่อไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลด้วยความกังวลความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนนำไปสู่การชะลอหรืองดการตรวจหาเชื้อมะเร็งซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพยากรณ์โรคและการพยากรณ์ชีพอีกด้วย

ในเดือนกรกฎาคม วารสารทางการแพทย์ เดอะแลนซิต รายงานว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนมีโรคระบาดในประเทศอังกฤษพบว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 16% และจากโรคมะเร็งเต้านมก็เพิ่มขึ้นเกือบ 10% หลังจากตรวจพบโรคมานานถึง 5 ปีแล้ว ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้มีปรากฏให้เห็นในหลายประเทศเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบทางอ้อมอื่นๆปรากฏให้เห็นเช่นกัน

มีรายงานที่ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อในแถบแอฟริกา อาทิ โรคมาลาเรีย และ เฮชไอวี โดยในประเทศที่ประชากรมีรายได้ปานกลางและต่ำ มีอัตราการตายของแม่และเด็กสูงขึ้น อีกทั้งอาการป่วยทางจิต โดยเฉพาะภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ก็มีจำนวนสูงมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกด้วยเช่นกัน

โดยสรุป เราต้องตื่นตัวติดตามเรื่องต่างๆเหล่านี้ รวมถึงผลกระทบทางอ้อมของการระบาดที่มีต่อชุมชนของเรา ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรสนับสนุนให้คนในชุมชนรับคำแนะนำจากแพทย์ให้ทันการณ์ และควรใช้ประโยชน์จากโทรเวชกรรม รวมถึงแหล่งข้อมูลเพื่อสุขภาพที่ดี

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.