รู้จัก Lazy Eye โรคตาขี้เกียจในเด็ก ก่อนลูกจะมองไม่เห็น
อาการผิดปกติของลูก บางครั้งพ่อแม่อาจไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เช่นเดียวกับโรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye ที่พบมากในเด็ก แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถบอกความผิดปกติของตาได้ พ่อแม่หลายคนก็ไม่ได้รู้จักหรือมีความรู้เกี่ยวกับโรคตาขี้เกียจเช่นกัน จึงไม่ทราบถึงความรุนแรงของโรคที่ส่งผลให้ลูกอาจสูญเสียการมองเห็นไปตลอดชีวิตได้
โรคตาขี้เกียจ คืออะไร
อาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมองเห็นไม่ชัด ส่งผลให้สมองปิดการรับรู้ ไม่พัฒนาเรื่องการมองเห็นและไปพัฒนาการรับรู้ในด้านอื่นแทน ซึ่งพัฒนาการการมองเห็นในเด็กจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ปี ดังนั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในระยะยาว หรือส่งผลกระทบกับสายตาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจ
1. ค่าสายตาไม่เท่ากัน
เป็นอาการที่มีค่าสายตามากทั้งสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาว สมองไม่สามารถตอบสนองสายตาทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งได้ตามปกติ จนเป็นโรคตาขี้เกียจได้ในที่สุด
2. ตาเหล่ ตาเข
เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจ เนื่องจากกล้ามเนื้อตามีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเขเข้า เขออก หรือจะเป็นการเขขึ้นและลง เพราะปกติแล้วสายตาทั้งสองข้างจะทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งการทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อการรับรู้และพัฒนาของการมองเห็นได้
3. มีสิ่งบดบังการมองเห็น
การมองเห็นไม่ชัดจากการมีสิ่งขวางกั้นที่ตาก็เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้ เช่น หนังตาตก กระจกตาขุ่น ต้อกระจก มีเลือดออกในตา เป็นต้น โรคกลุ่มนี้จะทำให้สมองส่วนการมองเห็นไม่ได้รับการพัฒนาตามวัย
4. การทำงานผิดปกติของกระแสประสาท
เมื่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับสายตาเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้การส่งภาพไปสมองผิดปกติหรือส่งภาพไปได้ไม่เต็มที่ จนเกิดเป็นโรคตาขี้เกียจ สาเหตุนี้จึงกลายเป็นสาเหตุหลักของโรคตาขี้เกียจในผู้ใหญ่ได้ ซึ่งจะส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงเรื่อยๆ ไม่สามารถกลับมามองเห็นชัดได้แม้จะตัดแว่นหรือใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากสมองไม่รับภาพจากดวงตาหรือรับภาพได้แย่ลง
5. ความผิดปกติของการมองเห็นจากโรคต่างๆ
โรคที่ส่งผลต่อการมองเห็นมักเป็นสาเหตุของโรคตาขี้เกียจ ไม่ว่าจะโรคต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด เลนส์ตาผิดปกติ จอประสาทตาลอก จอประสาทตาเสื่อมในเด็ก โรคมะเร็งจอตา กระจกตาขุ่น และโรคเกี่ยวกับตาอื่นๆ
วิธีสังเกตอาการโรคตาขี้เกียจในเบื้องต้น
- มีอาการตาเหล่ ตาเข เมื่อตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง ตาอีกข้างที่เขจะเข้าใกล้กับหัวตามากกว่าปกติ
- ชอบหรี่ตา หยีตา เพ่งมอง ขณะมองสิ่งที่อยู่ไกลๆ
- กะระยะหรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่นๆ ได้ยาก
- ต้องปิดตาหนึ่งข้างเพื่อมองเห็นให้ชัดขึ้น
- ตาล้า ปวดตาบ่อยๆ
การป้องกันโรคตาขี้เกียจ
แม้จะเป็นโรคที่เรียกว่าภัยเงียบแต่ก็สามารถรักษาให้หายได้ กรณีโรคตาขี้เกียจในเด็ก พ่อแม่ควรพาลูกพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสายตาตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 7 ปี หากตาขี้เกียจข้างเดียวเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และไม่ได้รับการรักษาภายในอายุ 2 ปี จะทำให้สมองไม่พัฒนาระบบการรับรู้ภาพแบบสามมิติ เกิดเป็นโรคตาขี้เกียจที่รักษายาก แม้จะปรับการมองเห็นให้กลับมาใช้ได้ทั้งสองข้าง แต่สมองจะไม่รับรู้ภาพเป็นสามมิติ จะประเมินความลึกของวัตถุได้จากแสงเงาเท่านั้น
แนวทางการรักษาโรคตาขี้เกียจ
- ปิดตาข้างที่ปกติ เพื่อกระตุ้นตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดให้ได้พัฒนาการมองเห็น
- เมื่อตรวจเช็กสายตาและมีปัญหาในเรื่องของสายตาสั้นหรือยาว จำเป็นต้องใส่แว่นเพื่อมองเห็นให้ชัดมากที่สุด
- หยอดยาที่มีฤทธิ์คลายการเพ่งและขยายม่านตาในตาข้างที่มองเห็นชัดให้เบลอเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น
- ผ่าตัดตาเข ผ่าตัดหน้าตาตก ผ่าตัดต้อกระจก
จะดีกว่ามั้ย ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถลดความกังวลและเพิ่มความสบายใจด้วย ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก แผนแมกซ์แคร์ จากอลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย
แมกซ์แคร์ ประกันสุขภาพเด็ก
แผนประกันสุขภาพเด็กที่คุ้มครองทั้งจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย พร้อมเคียงข้างด้วยความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5 ล้านบาท ต่อการพักรักษาเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง*
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน*
- ค่าห้องระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลสูงสุด 12,000 บาท/วัน*
- คุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายส่วนเกิน*
- ไม่ต้องสำรองจ่าย กับสถานพยาบาลในเครือข่าย*
- ไม่ต้องซื้อประกันชีวิตควบคู่ด้วย
*เงื่อนไขการรับประกันภัยเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด และลูกค้าควรศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อกำหนด และข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ก่อนการทำประกันภัย
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม ประกันสุขภาพเด็ก
หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555
ที่มา : https://bit.ly/45yhfNU
https://bit.ly/3QF1MaH
https://bit.ly/3OXOGEo