เช็คอาการ 10 อย่างด้วยตนเองได้ที่บ้าน
ทุกคนฝันอยากเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ไม่แพงจากบริษัททั่วไป หรือจากแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อจะเป็นที่แรกที่จะติดต่อได้ และมีผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลมากมายให้เลือกเพื่อจะได้รับรักษาที่ถูกต้อง
ในบางประเทศ ระบบสาธารณสุขไม่ดี ขาดแคลนสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ค่ารักษาก็แพง และการดูแลหลังการรักษาก็พึ่งพาไม่ได้
สุขภาพเสมือนจริง ทำให้การสาธารณสุขพื้นฐานเข้าถึงคนนับล้านได้ โดยให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์ทางไกลแบบเห็นหน้ากันได้โดยใช้การวิดีโอคอลจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือการ
ตรวจเองที่บ้านตามรายการด้านล่างก็ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้
ไม่ว่าคุณจะเข้าถึงสาธารณสุขเสมือนจริงได้หรือไม่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถตรวจสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวเองได้หลายอย่าง
การตรวจ 10 อย่างขั้นพื้นฐานเพื่อติดตามสุขภาพ ตรวจสอบและเช็คอาการได้ และถ้าคุณต้องการคำแนะนำจากแพทย์ คุณต้องมีข้อมูลต่างๆเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
1. วัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิร่างกายจะบอกว่าคุณมีไข้หรือไม่
อุณหภูมิปกติสำหรับผู้ใหญ่ คือ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส (98 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามอายุ เวลาที่วัด และวัดตรงส่วนใดของร่างกาย ควรวัดตอนร่างกายปกติจะได้รู้ถึงสภาวะยามปกติของคุณ ควรลงทุนใช้เครื่องวัดอุณหภูมิดีๆเพื่อผลที่แม่นยำ ลิงค์นี้มีข้อมูลเพิ่มเติมมาให้
อุปกรณ์สวมใส่ก็สามารถวัดอุณหภูมิได้แต่อาจไม่แม่นยำนัก ไข้สูงในเด็กเป็นอาการที่น่าเป็นห่วง หากมีความกังวล ควรไปพบแพทย์ หรือรับคำปรึกษาเสมือนจริง
2. ตรวจลูกอัณฑะ
ต้องตรวจเช็คว่า มีก้อนเนื้อหรือบวมหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง ควรตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ควรเช็คอัณฑะหลังการอาบน้ำอุ่น ให้ประคองถุงอัณฑะไว้ในอุ้งมือ ใช้นิ้วมือและนิ้วโป้งทั้งสองมือสัมผัสเพื่อตรวจเช็ค หากพบความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อ อาการบวม อาการปวดจี๊ด หรือ อัณฑะหนักผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
3. หมั่นตรวจเช็คเต้านม
ควรทำความคุ้นเคยกับลักษณะเต้านมของตนเองในแต่ละช่วงของรอบเดือน
ลักษณะเต้านมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากหลายสาเหตุซึ่งไม่ใช่สัญญาณอันตรายใดๆ ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของขอบหรือรูปร่างของเต้านม เพื่อดูว่ามีก้อน หรือมีส่วนที่หนากว่าส่วนอื่นที่สัมผัสได้ หรือมีความผิดปกติที่หัวนม หรือที่ผิวเต้านมหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานของการเกิดมะเร็ง
หากเจอความผิดปกติดังกล่าว ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
4. วัดการเต้นของหัวใจ
การวัดระดับการเต้นของหัวใจตอนเช้าในขณะที่หัวใจยังนิ่งอยู่จะบ่งชี้สภาพร่างกายโดยรวมของคุณได้
ระดับความปกติขึ้นอยู่กับอายุและสมรรถภาพร่างกายของคุณ - ควรเช็คทุกเช้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อดูอัตราการเต้นปกติของหัวใจ
สามารถเช็คด้วยการใช้มือคลำ หรือใช้เครื่องวัดการเต้นของหัวใจ ใช้เครื่องวัดขณะออกกำลังกายในฟิตเนส หรือแอปฯ บนสมาร์ทโฟนก็ได้เช่นกัน
การเต้น 10 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้นอาจหมายถึงกำลังเพลีย ถ้ามากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีหมายถึงกำลังเครียด ขาดน้ำ ตื่นเต้น หรือป่วย
ถ้าอัตราการเต้นสูงขึ้นต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
5. ความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคไตได้
มักพบว่า ไม่มีอาการเตือนใดๆ การเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญ โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต และขณะทำการวัด ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบเงียบด้วย
ความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ควรอยู่ระหว่าง 90/60 ถึง 120/80 mmHg ถ้าความดันโลหิตสูง ควรลดการบริโภคเค็มและลดการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย คุมน้ำหนัก และรควรปรึกษาแพทย์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
6. การตรวจจากการเก็บตัวอย่างและการตรวจเลือด
หากไม่ต้องการเดินทางไปพบแพทย์ สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้านซึ่งมีความแม่นยำ 90%
เครื่องตรวจเลือดที่บ้านจะบอกถึงระดับคลอเลสเตอรอล เรื่องไทรอยด์ สารก่อภูมิแพ้ และเฮชไอวี
ชุดตรวจแบบเก็บตัวอย่างจะให้ผลเรื่องการติดเชื้อทางปัสสาวะ และเชื้อสเตรปโตคอคคัส รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคอ เมื่อรู้ผลแล้ว ไม่ควรหาข้อมูลจากกูเกิ้ล
ข้อมูลที่เสิร์ชหาทางออนไลน์อาจมีความคลาดเคลื่อนทำให้เข้าใจผิด ควรรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ หากได้ผลเป็นบวก ให้ปรึกษาแพทย์
คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
7. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวานอาจนำไปสู่โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคในช่องปากและฟัน โรคหลอดเลือด และตาบอดได้ สามารถหาซื้อเครื่องวัดระดับกลูโคสในเลือด (ซึ่งจะต้องอดน้ำและอาหารก่อนวัด)แต่โรคเบาหวานมีความซับซ้อน เครื่องมือที่ซื้อมาตรวจเองอาจไม่เพียงพอ
สำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงการบริการรักษาเสมือนจริง ก็สามารถตรวจทางไกลได้เลย หากแพทย์มีความเห็นว่าควรต้องตรวจเพิ่ม ก็สามารถทำนัดให้คุณได้ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
8. ตรวจเช็คโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่น่ากลัว โดยเฉพาะในเด็กที่จะมีอาการทรุดเร็วและมีอาจอันตรายถึงชีวิต
การตรวจดูอาการด้วยตนเองจะสามารถช่วยชีวิตได้ทัน ดูสัญญาณต่างๆ เช่น อาการคล้ายไข้หวัด คอตึง ไม่สู้แสง บางครั้งมีผื่นซึ่งไม่จางหายเมื่อกดไปที่ขอบใสบนผิว
ไม่ควรรอจนขึ้นผื่น ควรรับประทานยาทันทีหากสงสัยว่าเป็นอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แอปฯ ในโทรศัพท์สามารถช่วยคุณวิเคราะห์อาการได้ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
9. วัดไขมันรอบเอว
การควบคุมน้ำหนักเพื่อจะมั่นใจได้ว่า คุณไม่มีไขมันส่วนเกินรอบเอวซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อินซูลินทำงานผิดปกติ และโรคเบาหวานประเภท 2
วัดรอบเอวที่ระดับสะดือ ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องความสูงหรือดัชนีมวลกาย สำหรับผู้ชายถ้ารอบเอวใหญ่เกิน 94 ซม. (37 นิ้ว) และ สำหรับผู้หญิง ถ้ารอบเอวใหญ่เกิน 80 ซม. (31.5 นิ้ว) คุณต้องลดน้ำหนัก โดยผู้ดูแลสุขภาพจะจัดโปรแกรมลดน้ำหนักให้คุณ รับข้อมูเพิ่มเติมได้ที่นี่
10. ตรวจสภาพผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งแบบหนึ่งที่สามารถสังเกตเองได้ง่ายๆ
ตรวจด้วยตนเองเดือนละครั้ง โดยดูว่ามีอะไรแปลกปลอมขึ้นมาที่ผิวหนัง หรือไฝที่มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น เริ่มมีเลือดออก คัน ไหม้ดำ หรือลอก หากพบความผิดปกติเหล่านี้ รีบปรึกษาแพทย์
ถ้าคุณผิวขาว มีไฝเยอะ หรือชอบตากแดดบ่อยๆก็ยิ่งมีความเสี่ยง ควรพบแพทย์ด้านผิวหนังปีละครั้ง