เทคนิคการจัดสรรสัดส่วนทางการเงินอย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่า “เงิน” มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต เพราะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องวัดค่าสิ่งของต่างๆ อีกทั้งมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดหาซื้อของใช้จำเป็น ในชีวิตประจำวันอีกด้วย คนส่วนใหญ่คิดว่าการหาเงินได้มากขึ้น จะสร้างความสุขสบาย ในชีวิตได้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่าเงินที่หาเพิ่มขึ้นมาได้ กลับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นทุกวันๆ เลย เหตุนี้อาจเป็นเพราะคนเราคุ้นเคยกับการใช้เงิน ก่อนที่จะหาเงินมาได้นั่นเอง
เทคนิควางแผนการเงิน

เป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมสถานะภาพทางการเงินของตนเองได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง โดยเริ่มจากรวบรวมข้อมุลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินของตนเองทั้งหมด แล้วแบ่งข้อมูลเป็น 4 ประเภท คือ

  1. รายได้ (Income) คือ ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ ตามปกติของกิจการรวมทั้งผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ
  2. สินทรัพย์ (Asset) คือ สิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการ อันเป็นเจ้าของหรือสามารถถือเอกประโยชน์ได้จากกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิ์เรียกร้อง มูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่ก่อให้เกิดสิทธิ์ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
  3. ค่าใช้จ่าย (Expense) คือ ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลา ที่ดำเนินการงานหนึ่ง
  4. หนี้สิน (Liabillity) คือ พันธะผูกพันกิจการอันเกิดจากรายการค้า การกู้ยืม หรือจากคนอื่นซึ่งจะต้องชำระคืนในภายหน้าให้แก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกมีต่อกิจการด้วยสินทรัพย์หรือบริการ

เป้าหมายทางการเงินที่ดี จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับ “เป้าหมายชีวิต (Personal Goal) “ ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป โดยคำนึงถึงจุดที่เราคิดว่าตนเอง ประสบความสำเร็จสูงสุด ซึ่งอาจวัดที่ความพึงพอใจ ความสุขสบายใจของแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้วความมั่นคงทางการเงินมักจะมีส่วนในการสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายชิวิต เป้าหมายทางการเงินที่ดี (Financial Goal) จะต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ข้อ คือ

  1. ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สำเร็จ (Achievable)
  2. ต้องวัดค่าเป็นจำนวนเงินได้ชัดเจน (Measurable)
  3. ต้องมีกรอบเวลาที่แน่นอน (Timeframe)

การทำแผนปฎิบัติการทางการเงิน (Financial Action Plan) ควรแสดงรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง เช่น กำหนดเป้าหมาย (Financial Goal) การเพิ่มเงินออมปีละ 30,000 บาท โดยมีแผน (Action Plan) คือ การลดค่าใช้จ่าย ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดการซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับลงให้ได้เดือนละ 2,500 บาท เป็นต้นปฎิบัติตามแผนการที่วางไว้

แผนทางการเงินที่จัดทำไว้คงจะไม่มีประโยชน์ หากไม่ได้ลงมือปฎิบัติ หรือมีความล่าช้า ในทางปฎิบัติ ยิ่งปล่อยเวลาผ่านไปนานเท่าไรการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะยิ่งล่าช้าออกไป และอาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายหรือแผนการอื่นๆ ด้วยกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จทางการเงิน คือ จะต้องมีความตั้งใจจริง และมีวินัยในตนเองเมื่อลงมือปฎิบัติ

คนที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ตามที่ต้องการ มักเกิดจากการไม่มีวินัยในตนเองหรือไม่ สามารถปฎิบัติตามแผนการเงินที่วางไว้ได้ ในขณะเดียวกัน การปฎิบัติตามแผนการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่มีความยืดหยุ่นก็อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน เพราะแผนการเงิน ที่จัดทำไว้มักถูกกระทบโดยปัจจัยหลายด้าน เช่น ความมั่นคงในอาชีพ ภาวะเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม อัตราผลตอบแทน นโยบายของรัฐบาล ความมั่นคงทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การวางแผนการเงินที่ดี จึงควรมีการทบทวน (Review) และปรับปรุง (Revise) แผนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเดินทางไปยังเป้าหมาย เป็นการเดินทางที่อยู่บนเส้นทางแห่งความเป็นจริง

ทุกย่างก้าวของการใช้ชีวิต ย่อมมีช่วงเวลาที่สำคัญและน่าจดจำอยู่มากมาย อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาแบบประกันที่หลากหลายจากประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันชิวิตที่ยาวนานกว่า 59 ปี เพื่อรองรับทุกด้าน ของการใช้ชีวิตให้คุณมั่นใจว่า บนเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล ไม่ว่าจะราบรื่นหรือยากลำบาก เราพร้อมจะเดินเคียงข้างและดูแลคุณในทุกช่วงเวลาสำคัญตลอดไป

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.