หลังจากที่เตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเพื่อชำระภาษี ได้ที่
- กรมการขนส่งทางบก
- สำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีบริการชำระภาษีรถยนต์ให้เลือกเพิ่มอีก 2 แบบ ทั้งเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- ที่ทำการไปรษณีย์ จะมีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่เจ้าของรถระบุเอาไว้
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยให้บริการอยู่ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะส่งตามมาทีหลังตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้ และมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพิ่มอีก 40 บาท
- แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
- หรือต่อภาษีแบบออนไลน์โดยตรง ได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลการต่อภาษีรถยนต์คร่าวๆ ที่นำมาฝากกัน ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีความสะดวกสบาย ง่ายดาย และไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีช่องทางการชำระภาษีที่หลากหลายมากขึ้น
แต่จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ล่าช้าเกินกว่ากำหนดนั้น สามารถเปลี่ยนจากเรื่องง่ายๆ ให้กลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากขึ้นได้ แถมยังต้องมานั่งเสียเงินและเสียเวลามากขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นแล้วไม่ควรชะล่าใจหรือปล่อยปะละเลยไป ควรรีบดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะครบกำหนด