Social Addiction เสพติดโซเชียลมากไปส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง

รู้ก่อนซื้อ Social Addiction เสพติดโซเชียลมากไปส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง
ปัจจุบันสื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทในชีวิตประจำวัน สามารถเข้าถึงได้เกือบทุกเพศทุกวัย แต่เมื่อมีการใช้โซเชียลมีเดียมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเสพติด (Socia Addiction) ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต การเรียน การงาน ไปจนถึงสุขภาพ
1. เล่นมากเกินไป เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่สามารถควบคุมการใช้งานได้ ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน
2. เมื่อไม่ได้เล่น จะมีอาการหงุดหงิด อาละวาด เครียด กระวนกระวายใจ
3. มีความต้องการเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การเพิ่มจำนวนเวลาการเล่น จนถึงอัปเกรดสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ใช้งานให้ทันสมัยขึ้น
4. มักใช้โซเชียลมีเดียเพื่อผ่อนคลายเวลาเครียดหรือไม่ว่าทำกิจกรรมใดอยู่ก็จะคิดถึงการใช้โซเชียลมีเดีย

1. ขาดการเข้าสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง ความสัมพันธ์ล้มเหลว
2. เกิดความรู้สึกแย่เมื่อจำนวนยอดไลก์ที่ได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือโพสต์ไม่ได้รับความสนใจ
3. เกิดการเปรียบเทียบกับคนบนโลกออนไลน์ที่มีการโพสต์เรื่องราวชีวิตที่ดีกว่าหรือประสบความสำเร็จมากกว่า
4. ขาดความเป็นส่วนตัว หากมีการโพสต์โซเชียลมีเดียเปิดแชร์แบบสาธารณะ
5. นอนหลับยากขึ้นหากมีการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก่อนนอน
6. หลุดโฟกัส ไขว้เขวจากเป้าหมายที่ตั้งไว้

การใช้โซเชียลมีเดียเกิดผลเสียต่อสุขภาพมากมาย สำหรับใครที่เลี่ยงไม่ได้ มาทำความรู้จักกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่ต้องระวังจากการเสพติดโซเชียลมากเกินไป

เป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook, Twitter, TikTok, Instagram ซึ่งมีหลากหลายเรื่องราวเกิดขึ้นที่มักจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์แบบเป็นส่วนใหญ่ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง จึงเกิดความรู้สึกกดดัน บั่นทอนความสุขตัวเองจนกลายเป็นความเครียด นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่มาจากการเล่นโซเชียลโมเดีย
ผู้ที่มีอาการละเมอแชทจะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น เมื่อได้ยินเสียงแจ้งเตือนหรือมีการสั่นเตือนของโทรศัพท์มือถือจะถูกกระตุ้นให้ตอบสนองด้วยการรีบตอบกลับทันทีกลายเป็นการละเมอแชท ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้นอนหลับไม่สนิท พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียดสะสมได้
โรควุ้นในตาเสื่อมไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับวัยทำงาน และคนที่อายุน้อยเพิ่มมากขึ้น สาเหตุมาจากพฤติกรรมติดจอมากเกินไป ยิ่งใช้โทรศัพท์มือถือขณะปิดไฟทำให้สายตาที่ทำงานหนักมาทั้งวันแล้วยิ่งต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งหากใครที่มองเห็นจุดเล็กๆ หรือมีลักษณะคล้ายหยากไย่ในดวงตา อาจสันนิษฐานได้ว่าวุ้นในตาเริ่มเสื่อมแล้ว
ที่มาจากคำว่า No Mobile Phone Phobia ส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่น คือจะมีอาการหมกมุ่นอยู่กับมือถือได้ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรอยู่ก็จะให้ความสนใจกับโลกออนไลน์มากกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ และจะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจเมื่อหาโทรศัพท์มือถือไม่เจอหรือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่ตามมานอกจากขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแล้ว ยังส่งผลกระทบกับร่างกายตามมา
เกิดจากการก้มหน้ามองจอหน้าเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม บริเวณลำคอก็เกิดการหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อตรงมุมปากตกไปตรงคาง หรือมีเหนียงเกิดขึ้นนั่นเอง
เป็นภาวะคล้ายโรคสมาธิสั้น แต่สมาธิสั้นเทียมเกิดจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเลต ไอแพดโดยขาดการควบคุมอารมณ์ตัวเอง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ใจร้อน รอคอยไม่ได้ จะรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อเจอเรื่องที่ชักช้าไม่ทันใจ

โซเชียลมีเดียจึงมีทั้งประโยชน์และโทษ  หากรู้จักใช้อย่างพอดี ก็จะช่วยให้รับมือกับโลกโซเชียลได้อย่างถูกวิธีและมีสุขภาพจิตที่ดี การใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ผ่านสมาร์ทโฟนก็สามารถไปหาหมอได้ทุกที่ผ่าน บริการโทรเวชกรรม เพียงนัดหมายล่วงหน้าด้วยประกันสุขภาพแผนแคร์เอนีแวร์ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 800,000 บาท ต่อการพักรักษาเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ไม่ต้องสำรองจ่ายกับสถานพยาบาลในเครือข่าย ไม่ต้องซื้อประกันชีวิตควบคู่ด้วย
  • แผนประกันสุขภาพคุ้มครองทั่วโลก(ยกเว้นสหรัฐอเมริกา)
  • รับคำแนะนำด้านสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านบริการโทรเวชกรรม
  • ไม่ต้องสำรองจ่าย กับสถานพยาบาลในเครือข่าย
  • ไม่ต้องซื้อพ่วงประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม ประกันสุขภาพ แผนแคร์เอนีแวร์

หรือโทรหาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 022328555

ที่มา : https://bit.ly/4417E21
https://bit.ly/3rvfeDK
https://bit.ly/3NQL6tY

Apologies, we are currently unable to handle your request. Please try again.

Enter the text from the box. 60 seconds remaining. Can't read the text? Reload text

Form sent successfully.